หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เครื่องมือคณิตศาสตร์ไดนามิก GeoGebra


         GeoGebra  เป็นเครื่องมือคณิตศาสตร์ ที่สามารถทำผ่านเว็บได้เลย เช่น สร้างกราฟ หรือเรขาคณิิตต่างๆมากมาย  รองรับได้หลายภาษาถึง 46 ภาษา (แปลใหม่ทุกเดือน) รวมทั้งภาษาไทย  สามารถเก็บงานที่ทำไว้ใน Google Drive


spreadsheet-view-cobweb.png     GeoGebra เป็นฟรีซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์แบบไดนามิกสำหรับทุกระดับการศึกษาที่รวมเรขาคณิตพีชคณิตกราฟและแคลคูลัส

      GeoGebra (www.geogebra.org) เป็นฟรีหลายแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์แบบไดนามิกสำหรับทุกระดับการศึกษาที่รวบรวมรูปทรงเรขาคณิตพีชคณิตสเปรดชีตกราฟสถิติและแคลคูลัสในหนึ่งง่ายต่อการใช้แพคเกจ ทรัพยากรการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้และการประเมินผลที่สร้างขึ้นด้วย 



      GeoGebra สามารถใช้ร่วมกันและนำมาใช้โดยทุกคนที่ geogebratube.org ภายใน geogebratube.org ปีเป็นครั้งแรกที่ได้รับมากกว่า 10 ล้านผู้เข้าชม

      GeoGebra ได้กลายเป็นผู้ให้บริการชั้นนำของซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์แบบไดนามิกสนับสนุนการศึกษา STEM และนวัตกรรมในการสอนและการเรียนรู้ทั่วโลก GeoGebra ได้รับรางวัลซอฟต์แวร์หลายการศึกษาการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือกับคู่ค้าที่สำคัญ



   สนใจไปที่หน้าแรกของร้านค้า Google Chrome แล้วค้นหาด้วยคำว่า GeoGebra คุณสามารถเพิ่มลงใน Google Chrome ได้ทันที


ชมวิดีโอสาธิตสั้น ๆ ของ GeoGebra


https://chrome.google.com/webstore/detail/geogebra/bnbaboaihhkjoaolfnfoablhllahjnee?utm_source=chrome-ntp-icon

เขียนสมการคณิตศาสตร์ ด้วย Daum Equation Editor









 Daum Equation Editor
 
   การเขียนสมการคณิตศาสตร์ผ่านเว็บ เป็นเครื่องมือออนไลน์ฟรี สามารถป้อนและแก้ไขสมการคณิตศาสตร์ทุกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถบันทึกเป็นข้อความหรือรูปภาพเพื่อใช้ในเอกสารต่างๆได้






    โดยไปที่หน้าแรกของร้านค้า Google Chrome แล้วค้นหาด้วยคำว่า Daum Equation Editor คุณสามารถเพิ่มลงใน Google Chrome ได้ทันที

ชมวิดีโอสาธิตสั้น ๆ ของ Daum Equation Editor




https://chrome.google.com/webstore/detail/daum-equation-editor/dinfmiceliiomokeofbocegmacmagjhe?hl=en-GB&utm_source=chrome-ntp-launcher


Webinar : การสัมมนาออนไลน์


webinar = web+seminar
Webinar   คือ การสัมมนาผ่านทางเว็บไซต์  หรือ การสัมมนาออนไลน์  เป็นการประชุมผ่านเว็ปไซต์ รูปแบบใหม่ Webinar เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น และข้อเท็จจริงร่วมกัน โดยอาศัย อินเทอร์เนต เป็นตัวกลางในติดต่อสื่อสาร ซึ่งการเข้าร่วม Webinar นั้น นอกจากผู้เข้าร่วมจะได้ความรู้ในหัวข้อที่วิทยากรทำการบรรยาย ผู้เข้าร่วมยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โต้ตอบกับวิทยากรได้ มีการตั้งคำถาม มีการอธิบาย และมีกิจกรรมในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมและวิทยากร
 Webinar เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ โดยที่ผู้ที่เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องเสียเวลา เสียเงิน เพื่อเดินทางไปเข้าร่วมสัมมนาแบบเดิมๆ แค่มีคอมพิวเตอร์ กับอินเทอร์เนตก็สามารถเข้าร่วมได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม โดยสามารถเห็นหน้าผู้ร่วมสัมมนาด้วยกันได้ สามารถพูดคุย ตอบโต้ ซักถาม พูดคุย กันได้ สามารถแชร์ไฟล์ แชร์เอกสาร แชร์ VDO ให้ผู้ร่วมสัมมนาทุกท่านได้เห็นไปพร้อมๆกัน มีการโต้ตอบแบบ Real Time สามารถประชุมพร้อมกันได้ทุกที่แม้จะอยู่ต่างที่ หรืออยู่คนละประเทศกันก็ไม่มีปัญหา เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


ประโยชน์ของการเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์

       o การเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์สามารถทำได้จากที่ทำงาน ห้องประชุม หรือแม้แต่จากที่บ้านของผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยสิ่งที่ต้องการมีเพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถต่อ Internet ได้ และโทรศัพท์เท่านั้น
       o ไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางประหยัด
       o โดยปกติแล้วการเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์จะเป็นแบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาเสียค่าใช้จ่ายเพียงแค่ค่า Internet และค่าโทรศัพท์ภายในประเทศเท่านั้น
       o ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าที่พักเพิ่มประสิทธิภาพ
       o โดยปกติการสัมมนาออนไลน์ จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ดังนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่ต้องเสียเวลาทั้งวันเหมือนการสัมมนาแบบปกติ โดยยังสามารถทำงานในช่วงเวลาที่เหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพการฝึกอบรม

       o การสัมมนาออนไลน์ช่วยให้สามารถฝึกอบรมบุคลกรที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่จำกัดจำนวน และสถานที่ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก


ตัวอย่างการสัมนาผ่านเว็บ(Webinar) โดยใช้ Google Hangout



วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Education 3.0

Education 3.0 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษายุคใหม่


Education 3.0 เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อ Communication and Collaboration รวมถึง social network ที่เป็นการสื่อสารแบบ many-to-many real-time

     Education 3.0 มีพื้นฐานมาจาก แนวคิด Web 2.0 ที่ปรับใช้เทคโนโลยีในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและมีแนวโน้มเน้นไปที่การสนับสนุนการทำงานร่วมกันในแบบออนไลน์ การแบ่งความรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้เรียน โดยขณะนี้มีความพร้อมและการเติบโตมากับเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างระบบอินเทอร์เน็ต ที่กลุ่มผู้เรียนมีความพร้อมในเทคโนโลยี และการเรียนที่ตอบสนองต่อการใช้งานผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์กมากขึ้น


        ตัวอย่างที่สำคัญและชัดเจนก็คือ การจัดการเรียนการสอน ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่อาจารย์จะเป็นต้นตอความรู้เพียงหนึ่งเดียว แต่ปัจจุบัน อาจารย์ กลายมาเป็น ผู้ประสานและกำหนดทิศทางของความรู้ที่ได้จากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด ข้อมูลชุมชน สื่อสารมวลชน ฐานข้อมูลออนไลน์ไปจนถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

        ผู้บริหารไอทีในสถานศึกษา หน่วยงานรัฐ ตลอดจนนักวิจัย และครูอาจารย์ในอนาคตจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานทางเทคโนโลยีปัจจุบัน ที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมทางการศึกษา แนวคิดและรูปแบบใหม่นี้จะเรียกว่า 
       สำหรับ Education 3.0 คือ แนวคิดทางการเรียนรู้ใหม่ล่าสุดที่ทั้งสถาบันการศึกษาและผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อถึงกันอย่างซับซ้อนผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์กได้จากทุกสถานที่ในทุกเวลา ในขณะที่เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบต่างๆ ทั้งการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตลอดจนการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Immersive Learning) จะก้าวเข้ามามีบทบาทในการประสานกระบวนการเรียน การสอนในสถาบันการศึกษาจริงและการเรียนรู้ทางไกลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

       การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เป็นแนวคิดใหม่ที่ท้าทายการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยการจำลองสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ลักษณะเกือบเหมือนจริงทุกอย่าง เช่น ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทดลองในห้องแล็บของสถานศึกษาจริง แต่ผู้เรียนอยู่คนละสถานที่รวมทั้งเลือกวันเวลาที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้สะดวกในลักษณะออนดีมานด์ โดยแนวคิดที่กำลังพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยลดช่องว่างของการเรียนการสอนออนไลน์แบบเดิมที่ผู้เรียนไม่ได้มีส่วนร่วมกับหลักสูตรเท่าที่ควร
ยุคสมัยของการศึกษา
Education 1.0  :  One-way process
Education 2.0  :   Use social software (Web 2.0 tools) within the framework of Education 1.0
Education 3.0  :   Collaboration learning


Education 1.0
Education 2.0
Education 3.0
บทบาทหลักของผู้สอน
เป็นแหล่งความรู้สู่ผู้เรียน
แนะนำแหล่งความรู้ให้ผู้เรียน
ทำหน้าที่เป็นผู้ประพันธ์กิจกรรมความร่วมมือกันในการสร้างความรู้
พฤติกรรมของผู้เรียน
Passive students
Passive to active students
Active students
กิจกรรมการเรียนรู้
บรรยาย ให้การบ้าน ทดสอบ ทำงานกลุ่มในชั้นเรียน
มอบงาน ใช้เทคโนโลยีแบบเปิดมากขึ้น มีกิจกรรมความร่วมมือ ในสถาบันและห้องเรียน
กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์โดยผู้เรียน ไม่จำกัดกรอบสถาบันและชั้นเรียน
สื่อและเนื้อหาการเรียนรู้
Copyright materials
Copyright และ free/open educational resource
Free/open educational resource และ reused